NIST สร้างนาฬิกาใหม่เดินตรงที่สุดในโลก ผิดพลาด 0.00000000001736 วินาทีต่อปี
Body
NIST ประกาศความสำเร็จในการสร้างนาฬิกาอะตอมด้วยคู่ไอออน aluminum atom และ magnesium ที่เสถียรกว่านาฬิกา cesium ที่เป็นนิยามของวินาทีในทุกวันนี้
นาฬิกาอะตอมสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1949 โดย National Bureau of Standards ที่แปลงมาเป็น NIST ภายหลัง โดยทุกวันนี้นิยามของวินาทีคือ การสั่นไหวของ caesium-133 จำนวน 9,192,631,770 ครั้ง โดยได้รับเป็นนิยามตั้งแต่ปี 1967
ข้อดีของอลูมิเนียมคือมันทนต่อสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิและสนามแม่เหล็ก ขณะที่แม็กนีเซียมนั้นสามารถควบคุมด้วยเลเซอร์ได้ สัดส่วนความผิดพลาดของนาฬิกาใหม่นี้ 5.5×10−19 เท่านั้น คิดเป็นความผิดพลาดประมาณ 0.00000000001736 วินาทีต่อปี นับเป็นระบบวัดเวลาที่แม่นที่สุดในโลก แม่นกว่าสถิติเดิม 41%
การใช้งานจริงยังคงลำบาก เนื่องจากไอออนต้องสั่นไหวอยู่ในสุญญากาศ แต่เหล็กกล้าจะปล่อยไฮโดรเจนออกมาเล็กน้อยในสุญญากาศ ทำให้ไฮโดรเจนชนเข้ากับไอออน ทำให้ทีมวิจัย NIST ต้องเปลี่ยนโลหะภายในเป็นไททาเนียม ทำให้นาฬิการันได้เป็นวันโดยไม่ต้องโหลดไอออนใหม่
ที่มา - NIST
lew Wed, 16/07/2025 - 15:26
Continue reading...
Body
NIST ประกาศความสำเร็จในการสร้างนาฬิกาอะตอมด้วยคู่ไอออน aluminum atom และ magnesium ที่เสถียรกว่านาฬิกา cesium ที่เป็นนิยามของวินาทีในทุกวันนี้
นาฬิกาอะตอมสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1949 โดย National Bureau of Standards ที่แปลงมาเป็น NIST ภายหลัง โดยทุกวันนี้นิยามของวินาทีคือ การสั่นไหวของ caesium-133 จำนวน 9,192,631,770 ครั้ง โดยได้รับเป็นนิยามตั้งแต่ปี 1967
ข้อดีของอลูมิเนียมคือมันทนต่อสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิและสนามแม่เหล็ก ขณะที่แม็กนีเซียมนั้นสามารถควบคุมด้วยเลเซอร์ได้ สัดส่วนความผิดพลาดของนาฬิกาใหม่นี้ 5.5×10−19 เท่านั้น คิดเป็นความผิดพลาดประมาณ 0.00000000001736 วินาทีต่อปี นับเป็นระบบวัดเวลาที่แม่นที่สุดในโลก แม่นกว่าสถิติเดิม 41%
การใช้งานจริงยังคงลำบาก เนื่องจากไอออนต้องสั่นไหวอยู่ในสุญญากาศ แต่เหล็กกล้าจะปล่อยไฮโดรเจนออกมาเล็กน้อยในสุญญากาศ ทำให้ไฮโดรเจนชนเข้ากับไอออน ทำให้ทีมวิจัย NIST ต้องเปลี่ยนโลหะภายในเป็นไททาเนียม ทำให้นาฬิการันได้เป็นวันโดยไม่ต้องโหลดไอออนใหม่
ที่มา - NIST
lew Wed, 16/07/2025 - 15:26
Continue reading...