หนึ่งในข่าววงการเทคฯ ที่เห็นอยู่บ่อย ๆ ก็คือ บริษัทเทคฯ ระดับโลกกำลังเร่งปรับตัวให้ตัวเองกลับมาโหดขึ้นอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นบังคับกลับเข้าออฟฟิศ ลดสวัสดิการ เพิ่มแรงกดดันให้พนักงาน และปลดพนักงานออกครั้งแล้วครั้งเล่า
โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร ซึ่งไม่รู้ว่าทำได้จริง หรือแค่ต้องการให้ตัวเลขในรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสออกมาดูดีขึ้น
แต่ NVIDIA แทบไม่ต้องเปลี่ยนอะไรเลย เพราะวัฒนธรรมแบบนี้มีอยู่แล้วตั้งแต่แรก ขณะที่บริษัทอย่าง Shopify, Microsoft, Meta, และ Google พยายามขับเคลื่อนให้เร็วขึ้น และตัดคนที่ไม่เวิร์คออก เพื่อแข่งขันในโลก AI แต่ NVIDIA อยู่ในโหมดนี้มานานแล้ว
วัฒนธรรมการทำงานที่เข้มข้น และจริงจังของ NVIDIA ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะ AI บูม แต่ถูกฝังลึกในบริษัทมาตั้งนาน ด้วยการทำงานที่เน้นความเร็ว ชัดเจน และรับผิดชอบเต็มร้อย ทั้งหมดนี้ มาจากการวางรากฐาน และวัฒนธรรมองค์กรโดยซีอีโอ Jensen Huang
สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัด ๆ คือโครงสร้างของบริษัทที่ flat มาก พูดง่าย ๆ คือ พนักงานประมาณ 60 คน รายงานขึ้นตรงกับ Huang ซึ่งถือว่าเยอะมากสำหรับบริษัทที่ใหญ่ขนาดนี้
รวมถึงคำขวัญของบริษัท "the mission is the boss" หรือ "ภารกิจคือเจ้านาย" หมายความว่า ทุกคนต้องโฟกัสกับเป้าหมายของบริษัท ไม่ใช่ทำงานเอาใจหัวหน้าเพื่อเลื่อนขั้น
ถ้าโปรเจกต์ของพนักงานคนนั้น ๆ กลายเป็นเรื่องสำคัญ เขาอาจถูกดึงให้ไปรายงานตรงกับ Huang แบบปุบปับ เปรียบเสมือนนักบินที่ต้องคอยควบคุมเครื่อง พร้อมรับผิดชอบแบบเต็มตัว และเตรียมเจอคำถามหนัก ๆ จาก Huang ได้เลย
Huang สามารถจำรายละเอียดของทุกอย่างได้แบบไม่น่าเชื่อ และติดตามโปรเจกต์ต่าง ๆ อย่างใกล้ชิดมาก ถ้าใครทำพลาดหรือมีประเด็นไม่เข้าใจ อาจถูกขุดคุ้ยกลางที่ประชุมเพื่อให้ทุกคนเรียนรู้ ซึ่งไม่ใช่เพื่อสร้างดราม่า หรือต้องการแขวนพนักงานคนนั้น ๆ กลางที่ประชุม แต่เพื่อให้ทุกคนเรียนรู้ และพัฒนาไปด้วยกัน
อีกอย่างที่น่าสนใจ คือจำนวนชั่วโมงทำงานของ NVIDIA กินเวลาสัปดาห์ละ 60 ชั่วโมง ถ้าช่วงไหนงานเยอะ ๆ ก็เจอเลย 80 ชั่วโมง แต่นั่นไม่ทำให้พนักงานอยากลาออก หรือเบิร์นเอาท์กับงานแต่อย่างใด พนักงานกลับอยากอยู่กับ NVIDIA เห็นได้จากอัตราการลาออกที่ต่ำกว่า 5% ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ซึ่งบริษัทก็ไม่ได้เลย์ออฟพนักงานตั้งแต่ปี 2008
ยังไม่หมดนะ NVIDIA เป็นบริษัทไม่กี่แห่งที่สนับสนุนการ Work from Home ในขณะที่บิ๊กเทคฯ ขู่หนักขู่หนา ว่าถ้าไม่กลับเข้าออฟฟิศ ก็ขอเชิญออกซะ ซึ่งมันไม่ใช่เพราะ Huang ไว้ใจ พนักงาน แต่ระบบของบริษัทเต็มไปด้วยความรับผิดชอบ ที่พนักงานต้องมี อย่างเช่น การที่ Huang ส่งอีเมลวันละเป็นร้อยฉบับ และคาดหวังให้ทุกคนส่งอัปเดตงานทุกสัปดาห์
นอกจากนี้ ภรรยาของ Huang เคยเป็นวิศวกรไฟฟ้า แต่ต้องออกจากงานเพื่อเลี้ยงลูก Huang จึงอยากสร้างระบบที่ผู้หญิง โดยเฉพาะคุณแม่ยังสามารถทำงานต่อได้ โดยไม่ต้องเลือกครอบครัวหรืองาน จึงให้พนักงาน Work from Home
ทั้งหมดนี้ ทำให้ NVIDIA กลายเป็นต้นแบบของวัฒนธรรมการทำงานยุคใหม่ ที่หลายบริษัทพยายามสร้างขึ้นหลังโควิด-19 บางที่ก็กำลังพยายามโหดขึ้นจากบนลงล่าง แต่ NVIDIA โหดแบบธรรมชาติ มาตั้งแต่ต้นแล้ว พนักงานชอบความจริงจังแบบที่นี้ รู้ตัวว่า ตัวเองมาอยู่ที่นี่เพื่อสร้างของเจ๋ง ๆ ไม่ใช่มาเล่นเกมการเมืองในออฟฟิศไปวัน ๆ
ที่มา: Business Insider
Topics:
Jensen Huang
NVIDIA
Workplace
Analysis
Continue reading...
โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร ซึ่งไม่รู้ว่าทำได้จริง หรือแค่ต้องการให้ตัวเลขในรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสออกมาดูดีขึ้น
แต่ NVIDIA แทบไม่ต้องเปลี่ยนอะไรเลย เพราะวัฒนธรรมแบบนี้มีอยู่แล้วตั้งแต่แรก ขณะที่บริษัทอย่าง Shopify, Microsoft, Meta, และ Google พยายามขับเคลื่อนให้เร็วขึ้น และตัดคนที่ไม่เวิร์คออก เพื่อแข่งขันในโลก AI แต่ NVIDIA อยู่ในโหมดนี้มานานแล้ว
วัฒนธรรมการทำงานที่เข้มข้น และจริงจังของ NVIDIA ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะ AI บูม แต่ถูกฝังลึกในบริษัทมาตั้งนาน ด้วยการทำงานที่เน้นความเร็ว ชัดเจน และรับผิดชอบเต็มร้อย ทั้งหมดนี้ มาจากการวางรากฐาน และวัฒนธรรมองค์กรโดยซีอีโอ Jensen Huang
สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัด ๆ คือโครงสร้างของบริษัทที่ flat มาก พูดง่าย ๆ คือ พนักงานประมาณ 60 คน รายงานขึ้นตรงกับ Huang ซึ่งถือว่าเยอะมากสำหรับบริษัทที่ใหญ่ขนาดนี้
รวมถึงคำขวัญของบริษัท "the mission is the boss" หรือ "ภารกิจคือเจ้านาย" หมายความว่า ทุกคนต้องโฟกัสกับเป้าหมายของบริษัท ไม่ใช่ทำงานเอาใจหัวหน้าเพื่อเลื่อนขั้น
ถ้าโปรเจกต์ของพนักงานคนนั้น ๆ กลายเป็นเรื่องสำคัญ เขาอาจถูกดึงให้ไปรายงานตรงกับ Huang แบบปุบปับ เปรียบเสมือนนักบินที่ต้องคอยควบคุมเครื่อง พร้อมรับผิดชอบแบบเต็มตัว และเตรียมเจอคำถามหนัก ๆ จาก Huang ได้เลย
Huang สามารถจำรายละเอียดของทุกอย่างได้แบบไม่น่าเชื่อ และติดตามโปรเจกต์ต่าง ๆ อย่างใกล้ชิดมาก ถ้าใครทำพลาดหรือมีประเด็นไม่เข้าใจ อาจถูกขุดคุ้ยกลางที่ประชุมเพื่อให้ทุกคนเรียนรู้ ซึ่งไม่ใช่เพื่อสร้างดราม่า หรือต้องการแขวนพนักงานคนนั้น ๆ กลางที่ประชุม แต่เพื่อให้ทุกคนเรียนรู้ และพัฒนาไปด้วยกัน
อีกอย่างที่น่าสนใจ คือจำนวนชั่วโมงทำงานของ NVIDIA กินเวลาสัปดาห์ละ 60 ชั่วโมง ถ้าช่วงไหนงานเยอะ ๆ ก็เจอเลย 80 ชั่วโมง แต่นั่นไม่ทำให้พนักงานอยากลาออก หรือเบิร์นเอาท์กับงานแต่อย่างใด พนักงานกลับอยากอยู่กับ NVIDIA เห็นได้จากอัตราการลาออกที่ต่ำกว่า 5% ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ซึ่งบริษัทก็ไม่ได้เลย์ออฟพนักงานตั้งแต่ปี 2008
ยังไม่หมดนะ NVIDIA เป็นบริษัทไม่กี่แห่งที่สนับสนุนการ Work from Home ในขณะที่บิ๊กเทคฯ ขู่หนักขู่หนา ว่าถ้าไม่กลับเข้าออฟฟิศ ก็ขอเชิญออกซะ ซึ่งมันไม่ใช่เพราะ Huang ไว้ใจ พนักงาน แต่ระบบของบริษัทเต็มไปด้วยความรับผิดชอบ ที่พนักงานต้องมี อย่างเช่น การที่ Huang ส่งอีเมลวันละเป็นร้อยฉบับ และคาดหวังให้ทุกคนส่งอัปเดตงานทุกสัปดาห์
นอกจากนี้ ภรรยาของ Huang เคยเป็นวิศวกรไฟฟ้า แต่ต้องออกจากงานเพื่อเลี้ยงลูก Huang จึงอยากสร้างระบบที่ผู้หญิง โดยเฉพาะคุณแม่ยังสามารถทำงานต่อได้ โดยไม่ต้องเลือกครอบครัวหรืองาน จึงให้พนักงาน Work from Home
ทั้งหมดนี้ ทำให้ NVIDIA กลายเป็นต้นแบบของวัฒนธรรมการทำงานยุคใหม่ ที่หลายบริษัทพยายามสร้างขึ้นหลังโควิด-19 บางที่ก็กำลังพยายามโหดขึ้นจากบนลงล่าง แต่ NVIDIA โหดแบบธรรมชาติ มาตั้งแต่ต้นแล้ว พนักงานชอบความจริงจังแบบที่นี้ รู้ตัวว่า ตัวเองมาอยู่ที่นี่เพื่อสร้างของเจ๋ง ๆ ไม่ใช่มาเล่นเกมการเมืองในออฟฟิศไปวัน ๆ
ที่มา: Business Insider
Topics:
Jensen Huang
NVIDIA
Workplace
Analysis
Continue reading...