เบื้องหลัง Battlefield ภาคใหม่โค้ดเนม Glacier คิดใหญ่หวังผู้เล่น 100 ล้าน แต่เต็มไปด้วยปัญหา
Body
Ars Technica มีสกู๊ปสัมภาษณ์พนักงานปัจจุบันและอดีตพนักงานของ ทีมสร้าง Battlefield ภาคใหม่ โค้ดเนม Glacier ที่ต้องแบกรับความคาดหวังที่สูงมากหลัง ความล้มเหลวของ Battlefield 2042 และต้นทุนการสร้างที่บานปลายขึ้นเรื่อยๆ
ในบทความเล่าเบื้องหลังความล้มเหลวของ Battlefield 2042 ว่าล้าช้าจากกำหนด alpha ที่พื้นฐานของเกมต้องพร้อมแล้ว ทีมงานรายหนึ่งมองว่าสถานะของเกมควรเลื่อนไปอีกอย่างน้อย 6 เดือนถึงจะเสร็จตามแผน แต่ EA ตัดสินใจเลื่อนแค่ 1 เดือน ซึ่งไม่ช่วยอะไรมากนัก บทเรียนของฝ่ายบริหาร EA จึงมองว่าปัญหาอยู่ที่ execution มากกว่า vision ของเกม
สิ่งที่ EA ทำคือดึงผู้บริหารระดับท็อป 3 คนเข้ามาดูแลแฟรนไชส์ Battlefield ได้แก่
เป้าหมายของ EA คือคิดใหญ่ทำใหญ่ ตั้งเป้าว่า Battlefield Glacier จะต้องมีผู้เล่นมากถึง 100 ล้านคนในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งสถิติสูงสุดคือ Battlefield 1 เคยทำไว้ประมาณ 30++ ล้านคน ส่วน Battlefield 2042 อยู่ที่ 22 ล้านคน ดังนั้นถ้าต้องการไปให้ถึง 100 ล้าน โครงการ Glacier ต้องปรับโมเดลธุรกิจใหม่ เปิดบางส่วนเป็น free-to-play แบบเดียวกับ Call of Duty ทำไปก่อนแล้ว
ขอบเขตของ Glacier จึงใหญ่มาก ประกอบด้วย
ต้นทุนสร้างที่เคยตั้งเป้าไว้ในปี 2023 คือ 400 ล้านดอลลาร์ ถือเป็นเกม Battlefield ที่แพงที่สุดที่เคยสร้างมา ซึ่งตอนนี้ตัวเลขน่าจะเกินเป้าไปเรียบร้อยแล้ว
ความซับซ้อนของโครงการทำให้เกิดปัญหาหลายส่วนในการพัฒนา ตัวอย่างคือทีม Ridgeline Games ที่รับงานเนื้อเรื่องแบบเล่นคนเดียวมีปัญหา เพราะเป็นสตูดิโอตั้งใหม่ ทีมงานยังไม่ค่อยเสถียร แล้วถูกสั่งปิดทั้งสตูดิโอไปเมื่อต้นปี 2024 งานถูกโยกมายังสตูดิโออื่นคือ Criterion, DICE, Motive แต่ก็กลายเป็นภาระให้สตูดิโอเหล่านี้ที่ต้องมารื้องานทำใหม่ ผลคือโหมดเนื้อเรื่องล่าช้ากว่ากำหนด alpha
นอกจากนี้ยังมีปัญหาความขัดแย้งระหว่างสตูดิโอ DICE ในสวีเดน ในฐานะผู้เริ่มสร้าง Battlefield กับสตูดิโออื่นๆ ในเครือ EA ที่อยู่ฝั่งสหรัฐอเมริกา สตูดิโอสองฝั่งมีปัญหาความไม่ลงรอยกัน วัฒนธรรมอเมริกัน vs วัฒนธรรมยุโรป ความต่างของเขตเวลา และการเปลี่ยนแนวทางการทำงานที่ของเดิม DICE เป็นผู้นำ สตูดิโออื่นคอยสนับสนุน ตอนนี้กลายเป็น 4 สตูดิโอมีสถานะเท่าเทียมกัน ฟังคำสั่งบริษัทแม่ EA ในอเมริกา เน้นผลกำไรมากขึ้น มีอิสระในการสร้างสรรค์ผลงานน้อยลง
สถานะของเกมตอนนี้ผ่าน alpha (ยกเว้นโหมดเนื้อเรื่อง) โดยมองข้ามเงื่อนไขความครบถ้วนของบางฟีเจอร์ ตามระบบมาตรฐานคุณภาพของ EA ทำให้ทีมงานบางคนเริ่มตั้งคำถาม ว่าเกมจะพัฒนาเสร็จตามกำหนดได้จริงๆ หรือไม่ เพราะถ้าเข้าสถานะ full-production โดยไอเดียหรือฟีเจอร์บางอย่างไม่พร้อม ก็จะต้องเสียเวลามาไล่แก้กันใหม่ และส่งผลให้แพตช์ Day 1 มีขนาดใหญ่มาก เนื่องจากต้องปรับเกมเยอะมากในช่วงไม่กี่สัปดาห์หลังส่งเวอร์ชันวางขายจริงให้กับ PlayStation/Xbox ไปเตรียมวางขายนั่นเอง
การที่โหมดเนื้อเรื่องไม่สำคัญกับซีรีส์ Battlefield มากนัก ความนิยมเป็นรองโหมดมัลติเพลเยอร์ ทำให้พนักงาน EA บางรายที่ให้สัมภาษณ์ ประเมินว่า EA อาจเลือกตัดโหมดเนื้อเรื่องทิ้งไปเลย หรือเร่งงานอย่างหนักเพื่อให้ทันเส้นตาย ซึ่งจะส่งผลให้พนักงานเบิร์นเอาท์ตามมา
ที่มา - Ars Technica, ภาพประกอบจากเกม Battlefield 2042
mk Fri, 04/07/2025 - 19:59
Continue reading...
Body
Ars Technica มีสกู๊ปสัมภาษณ์พนักงานปัจจุบันและอดีตพนักงานของ ทีมสร้าง Battlefield ภาคใหม่ โค้ดเนม Glacier ที่ต้องแบกรับความคาดหวังที่สูงมากหลัง ความล้มเหลวของ Battlefield 2042 และต้นทุนการสร้างที่บานปลายขึ้นเรื่อยๆ
ในบทความเล่าเบื้องหลังความล้มเหลวของ Battlefield 2042 ว่าล้าช้าจากกำหนด alpha ที่พื้นฐานของเกมต้องพร้อมแล้ว ทีมงานรายหนึ่งมองว่าสถานะของเกมควรเลื่อนไปอีกอย่างน้อย 6 เดือนถึงจะเสร็จตามแผน แต่ EA ตัดสินใจเลื่อนแค่ 1 เดือน ซึ่งไม่ช่วยอะไรมากนัก บทเรียนของฝ่ายบริหาร EA จึงมองว่าปัญหาอยู่ที่ execution มากกว่า vision ของเกม
สิ่งที่ EA ทำคือดึงผู้บริหารระดับท็อป 3 คนเข้ามาดูแลแฟรนไชส์ Battlefield ได้แก่
- Byron Beede อดีต general manager ของ Call of Duty และ Destiny มาเป็น general manager ของ Battlefield
- Marcus Lehto ผู้ร่วมสร้าง Halo มาเป็น หัวหน้าฝ่ายครีเอทีฟของ Ridgeline Games สตูดิโอตั้งใหม่
- Vince Zampella ผู้ร่วมสร้าง Call of Duty โยกจากทีมอื่นของ EA มาดูแล Battlefield ทั้งหมด
เป้าหมายของ EA คือคิดใหญ่ทำใหญ่ ตั้งเป้าว่า Battlefield Glacier จะต้องมีผู้เล่นมากถึง 100 ล้านคนในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งสถิติสูงสุดคือ Battlefield 1 เคยทำไว้ประมาณ 30++ ล้านคน ส่วน Battlefield 2042 อยู่ที่ 22 ล้านคน ดังนั้นถ้าต้องการไปให้ถึง 100 ล้าน โครงการ Glacier ต้องปรับโมเดลธุรกิจใหม่ เปิดบางส่วนเป็น free-to-play แบบเดียวกับ Call of Duty ทำไปก่อนแล้ว
ขอบเขตของ Glacier จึงใหญ่มาก ประกอบด้วย
- โหมด Battle Royale เปิดให้เล่นฟรี เป็นโหมดหลักของภาคนี้
- โหมดเนื้อเรื่องแบบดั้งเดิม ความยาว 6 ชั่วโมง
- โหมดมัลติเพลเยอร์แบบดั้งเดิม (Conquest/Rush)
- โหมดใหม่ Gauntlet เป็น free-to-play
- โหมดคอนเทนต์ที่สร้างโดยผู้เล่นเอง เรียกว่า Portal
ต้นทุนสร้างที่เคยตั้งเป้าไว้ในปี 2023 คือ 400 ล้านดอลลาร์ ถือเป็นเกม Battlefield ที่แพงที่สุดที่เคยสร้างมา ซึ่งตอนนี้ตัวเลขน่าจะเกินเป้าไปเรียบร้อยแล้ว
ความซับซ้อนของโครงการทำให้เกิดปัญหาหลายส่วนในการพัฒนา ตัวอย่างคือทีม Ridgeline Games ที่รับงานเนื้อเรื่องแบบเล่นคนเดียวมีปัญหา เพราะเป็นสตูดิโอตั้งใหม่ ทีมงานยังไม่ค่อยเสถียร แล้วถูกสั่งปิดทั้งสตูดิโอไปเมื่อต้นปี 2024 งานถูกโยกมายังสตูดิโออื่นคือ Criterion, DICE, Motive แต่ก็กลายเป็นภาระให้สตูดิโอเหล่านี้ที่ต้องมารื้องานทำใหม่ ผลคือโหมดเนื้อเรื่องล่าช้ากว่ากำหนด alpha
นอกจากนี้ยังมีปัญหาความขัดแย้งระหว่างสตูดิโอ DICE ในสวีเดน ในฐานะผู้เริ่มสร้าง Battlefield กับสตูดิโออื่นๆ ในเครือ EA ที่อยู่ฝั่งสหรัฐอเมริกา สตูดิโอสองฝั่งมีปัญหาความไม่ลงรอยกัน วัฒนธรรมอเมริกัน vs วัฒนธรรมยุโรป ความต่างของเขตเวลา และการเปลี่ยนแนวทางการทำงานที่ของเดิม DICE เป็นผู้นำ สตูดิโออื่นคอยสนับสนุน ตอนนี้กลายเป็น 4 สตูดิโอมีสถานะเท่าเทียมกัน ฟังคำสั่งบริษัทแม่ EA ในอเมริกา เน้นผลกำไรมากขึ้น มีอิสระในการสร้างสรรค์ผลงานน้อยลง
สถานะของเกมตอนนี้ผ่าน alpha (ยกเว้นโหมดเนื้อเรื่อง) โดยมองข้ามเงื่อนไขความครบถ้วนของบางฟีเจอร์ ตามระบบมาตรฐานคุณภาพของ EA ทำให้ทีมงานบางคนเริ่มตั้งคำถาม ว่าเกมจะพัฒนาเสร็จตามกำหนดได้จริงๆ หรือไม่ เพราะถ้าเข้าสถานะ full-production โดยไอเดียหรือฟีเจอร์บางอย่างไม่พร้อม ก็จะต้องเสียเวลามาไล่แก้กันใหม่ และส่งผลให้แพตช์ Day 1 มีขนาดใหญ่มาก เนื่องจากต้องปรับเกมเยอะมากในช่วงไม่กี่สัปดาห์หลังส่งเวอร์ชันวางขายจริงให้กับ PlayStation/Xbox ไปเตรียมวางขายนั่นเอง
การที่โหมดเนื้อเรื่องไม่สำคัญกับซีรีส์ Battlefield มากนัก ความนิยมเป็นรองโหมดมัลติเพลเยอร์ ทำให้พนักงาน EA บางรายที่ให้สัมภาษณ์ ประเมินว่า EA อาจเลือกตัดโหมดเนื้อเรื่องทิ้งไปเลย หรือเร่งงานอย่างหนักเพื่อให้ทันเส้นตาย ซึ่งจะส่งผลให้พนักงานเบิร์นเอาท์ตามมา
ที่มา - Ars Technica, ภาพประกอบจากเกม Battlefield 2042
mk Fri, 04/07/2025 - 19:59
Continue reading...