Amnestry ออกรายงานศูนย์แก๊งคอลเซ็นเตอร์ 53 แห่งทั่วกัมพูชา ดำเนินการต่อได้แม้มีตำรวจเข้าสอบสวน
Body
Amnesty International ออกรายงานเปิดเผยรายละเอียดของศูนย์ดำเนินการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ 53 แห่งในกัมพูชาที่นับเป็นวิกฤติทางมนุษยธรรม เนื่องจากมีการใช้แรงงานเด็ก, ซ้อมทรมาน, กักขังหน่วงเหนี่ยว, ตลอดจนใช้แรงงานทาส ที่ผ่านมารัฐบาลกัมพูชาสามารถปิดศูนย์เหล่านี้ไปได้เพียงสองแห่ง ส่วนใหญ่สามารถเปิดต่อได้แม้มีการเข้าสอบสวนจากเจ้าหน้าที่
รายงานระบุว่าจนตอนนี้มีผู้หลบหนีจากศูนย์เหล่านี้แล้วนับพันคน ทาง Amnesty ยืนยันว่าจุดเหล่านี้เป็นศูนย์ของแก๊งคอลเซ็นเตอร์จากการสัมภาษณ์ผู้ที่หลบหนีออกมา และนอกจากพื้นที่เหล่านี้ ยังมีพื้นที่อีกถึง 45 จุดที่ต้องสงสัยว่าเป็นศูนย์ของแก๊งคอลเซ็นเตอร์เหมือนกันเนื่องจากสภาพแวดล้อมและการรักษาความปลอดภัยเหมือนกัน
รายงานระบุว่ารัฐบาลกัมพูชาได้รับเรื่องร้องเรียนถึงการกักขังหน่วงเหนี่ยวในศูนย์เหล่านี้ถึง 3,553 ครั้งในช่วงปี 2024-2025 และมีการบุกค้นถึง 28 ครั้ง แต่ทาง Amnesty ก็วิจารณ์ว่าการสอบสวนล่าช้า, ไม่มีแนวทางกำกับควบคุมบริษัทเหล่านี้จริงจัง, และดูเหมือนจะได้รับความร่วมมือจากรัฐอีกด้วย
กระบวนการทำรายงานอาศัยการเข้าสำรวจศูนย์เหล่านี้ในพื้นที่จริง, สัมภาษณ์ผู้ที่หลบหนีออกมาได้ รวม 58 ราย เป็นคนไทย 24 คน, จีน 20 คน, มาเลเซีย 6 คน, บังคลาเทศ 3 คน, เวียดนาม 2 คน, อินโดนีเซีย เอธิโอเปีย และไต้หวันอีกประเทศละคน
ที่มา - Amnesty
lew Fri, 27/06/2025 - 11:56
Continue reading...
Body
Amnesty International ออกรายงานเปิดเผยรายละเอียดของศูนย์ดำเนินการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ 53 แห่งในกัมพูชาที่นับเป็นวิกฤติทางมนุษยธรรม เนื่องจากมีการใช้แรงงานเด็ก, ซ้อมทรมาน, กักขังหน่วงเหนี่ยว, ตลอดจนใช้แรงงานทาส ที่ผ่านมารัฐบาลกัมพูชาสามารถปิดศูนย์เหล่านี้ไปได้เพียงสองแห่ง ส่วนใหญ่สามารถเปิดต่อได้แม้มีการเข้าสอบสวนจากเจ้าหน้าที่
รายงานระบุว่าจนตอนนี้มีผู้หลบหนีจากศูนย์เหล่านี้แล้วนับพันคน ทาง Amnesty ยืนยันว่าจุดเหล่านี้เป็นศูนย์ของแก๊งคอลเซ็นเตอร์จากการสัมภาษณ์ผู้ที่หลบหนีออกมา และนอกจากพื้นที่เหล่านี้ ยังมีพื้นที่อีกถึง 45 จุดที่ต้องสงสัยว่าเป็นศูนย์ของแก๊งคอลเซ็นเตอร์เหมือนกันเนื่องจากสภาพแวดล้อมและการรักษาความปลอดภัยเหมือนกัน
รายงานระบุว่ารัฐบาลกัมพูชาได้รับเรื่องร้องเรียนถึงการกักขังหน่วงเหนี่ยวในศูนย์เหล่านี้ถึง 3,553 ครั้งในช่วงปี 2024-2025 และมีการบุกค้นถึง 28 ครั้ง แต่ทาง Amnesty ก็วิจารณ์ว่าการสอบสวนล่าช้า, ไม่มีแนวทางกำกับควบคุมบริษัทเหล่านี้จริงจัง, และดูเหมือนจะได้รับความร่วมมือจากรัฐอีกด้วย
กระบวนการทำรายงานอาศัยการเข้าสำรวจศูนย์เหล่านี้ในพื้นที่จริง, สัมภาษณ์ผู้ที่หลบหนีออกมาได้ รวม 58 ราย เป็นคนไทย 24 คน, จีน 20 คน, มาเลเซีย 6 คน, บังคลาเทศ 3 คน, เวียดนาม 2 คน, อินโดนีเซีย เอธิโอเปีย และไต้หวันอีกประเทศละคน
ที่มา - Amnesty
lew Fri, 27/06/2025 - 11:56
Continue reading...