กฤษฎีกา เปิดตัว TH2OECD ระบบเปรียบเทียบกฎหมาย 2 ภาษาด้วยพลัง AI
Body
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หน่วยงานที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาลไทย เปิดตัว TH2OECD ระบบ AI เพื่อการเปรียบเทียบกฎหมาย ที่ใช้พลัง AI มาช่วยวิเคราะห์และเปรียบเทียบกฎหมายของไทย โดยใช้เทคโนโลยีของไมโครซอฟท์
ระบบ TH2OECD เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนเป้าหมายของรัฐบาลไทย ที่ต้องการให้ประเทศไทยสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศ OECD ซึ่งกำหนดให้ไทยต้องปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัยเทียบเท่าสากล ปัญหาคือไทยมีกฎหมายมากกว่า 70,000 ฉบับ ทั้งระดับพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง พระราชกฤษฎีกา ประกาศ และแนวปฏิบัติต่างๆ มีความซับซ้อนสูงมาก
ระบบ TH2OECD ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อเปรียบเทียบกฎหมายไทย (ภาษาไทย) กับข้อกำหนดของ OECD จำนวน 270 ฉบับ (ภาษาอังกฤษ) ว่าสอดคล้องตรงกันหรือไม่ จากเดิมงานพวกนี้ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของนักกฎหมายในสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอย่างเดียว แต่ระบบนี้จะแปลกฎหมายไทยเป็นภาษาอังกฤษ (รวมถึงกฎหมายที่เก็บเป็น PDF) แปลข้อกำหนด OECD เป็นภาษาไทย และใช้เทคโนโลยีประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP) เปรียบเทียบและไฮไลท์ความแตกต่าง เป็นตัวช่วยให้เจ้าหน้าที่ด้านกฎหมายทำงานเร็วขึ้น
ระบบนี้พัฒนาบน Microsoft Azure OpenAI โดยบริษัทไทยที่พัฒนาระบบให้คือ STelligence
ที่มา - Microsoft Thailand
ภาพตัวอย่างข้อกำหนดของ OECD ที่แปลเป็นภาษาไทยแล้ว
mk Wed, 09/07/2025 - 20:16
Continue reading...
Body
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หน่วยงานที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาลไทย เปิดตัว TH2OECD ระบบ AI เพื่อการเปรียบเทียบกฎหมาย ที่ใช้พลัง AI มาช่วยวิเคราะห์และเปรียบเทียบกฎหมายของไทย โดยใช้เทคโนโลยีของไมโครซอฟท์
ระบบ TH2OECD เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนเป้าหมายของรัฐบาลไทย ที่ต้องการให้ประเทศไทยสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศ OECD ซึ่งกำหนดให้ไทยต้องปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัยเทียบเท่าสากล ปัญหาคือไทยมีกฎหมายมากกว่า 70,000 ฉบับ ทั้งระดับพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง พระราชกฤษฎีกา ประกาศ และแนวปฏิบัติต่างๆ มีความซับซ้อนสูงมาก
ระบบ TH2OECD ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อเปรียบเทียบกฎหมายไทย (ภาษาไทย) กับข้อกำหนดของ OECD จำนวน 270 ฉบับ (ภาษาอังกฤษ) ว่าสอดคล้องตรงกันหรือไม่ จากเดิมงานพวกนี้ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของนักกฎหมายในสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอย่างเดียว แต่ระบบนี้จะแปลกฎหมายไทยเป็นภาษาอังกฤษ (รวมถึงกฎหมายที่เก็บเป็น PDF) แปลข้อกำหนด OECD เป็นภาษาไทย และใช้เทคโนโลยีประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP) เปรียบเทียบและไฮไลท์ความแตกต่าง เป็นตัวช่วยให้เจ้าหน้าที่ด้านกฎหมายทำงานเร็วขึ้น
ระบบนี้พัฒนาบน Microsoft Azure OpenAI โดยบริษัทไทยที่พัฒนาระบบให้คือ STelligence
ที่มา - Microsoft Thailand
ภาพตัวอย่างข้อกำหนดของ OECD ที่แปลเป็นภาษาไทยแล้ว
mk Wed, 09/07/2025 - 20:16
Continue reading...