กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see


ลดโลกร้อน กูเกิลใช้ AI ตรวจจับภาพถ่ายดาวเทียม ค้นหาก๊าซมีเทนรั่วไหลตามบ่อน้ำมัน

ข่าว ลดโลกร้อน กูเกิลใช้ AI ตรวจจับภาพถ่ายดาวเทียม ค้นหาก๊าซมีเทนรั่วไหลตามบ่อน้ำมัน

  • ผู้เริ่มหัวข้อ ผู้เริ่มหัวข้อ News 
  • วันที่เริ่มต้น วันที่เริ่มต้น

News 

Active member

สมาชิกทีมงาน
Moderator
Collaborate
กูเกิลเผยรายละเอียดของโครงการแก้ปัญหาโลกร้อน ด้วยการใช้ AI ตรวจจับตำแหน่งของการปล่อยก๊าซมีเทนจากภาพถ่ายดาวเทียม

ก๊าซมีเทน (methane) เป็นหนึ่งในตัวการสำคัญของภาวะเรือนกระจก และการปล่อยก๊าซมีเทนมักมาจากกระบวนผลิตเชื้อเพลิงฟอซซิล เช่น น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

กูเกิลร่วมกับ Environmental Defense Fund (EDF) หน่วยงานไม่หวังผลกำไรที่ทำด้านสิ่งแวดล้อมมายาวนาน และกำลังจะปล่อยดาวเทียม MethaneSAT ของตัวเองสู่ชั้นบรรยากาศในเดือนมีนาคมนี้ ดาวเทียม MethaneSAT จะโคจรรอบโลกวันละ 15 รอบแล้วถ่ายภาพที่เห็นระดับของกีาซมีเทนกลับมาวิเคราะห์

เมื่อได้ภาพแล้ว กูเกิลจะรับช่วงต่อโดยนำภาพมาใส่ใน Google Earth Engine เพื่อให้องค์กรอื่นนำไปใช้งานต่อได้ง่าย และกูเกิลยังนำไปเชื่อมต่อกับภาพถ่ายดาวเทียมปกติ ที่มีอัลกอริทึมของกูเกิลพยายามแยกแยะว่าจุดไหนในโลกเป็นบ่อน้ำมัน ตรงไหนเป็นปั๊มที่ขุดน้ำมันมาจากใต้ดิน ตรงไหนเป็นคลังเก็บน้ำมันบ้าง เมื่อนำมาเช็คกับแผนที่การปล่อยมีเทนจาก MethaneSAT ก็สามารถตรวจสอบได้ว่าจุดไนมีการรั่วไหลของมีเทน เพื่อให้แก้ปัญหาได้รวดเร็วและตรงจุด

No Description


ตัวอย่างภาพถ่ายดาวเทียมแสดงระดับของมีเทน ใช้งานผ่าน Google Earth Engine

No Description


ตัวอย่างภาพถ่ายดาวเทียมแสดงบ่อน้ำมัน (จุดขาวในภาพบน) และการแยกแยะสิ่งปลูกสร้างในบ่อน้ำมันด้วย AI (สีแดง = ตัวปั๊ม, สีน้ำเงิน = ถังเก็บน้ำมัน)

ที่มา - Google

Topics:
Google Earth
Satellite
Environment
Google

อ่านต่อ...
 

ไฟล์แนบ

  • 9b6fa20ccb9e7d5d26438b9c7a40ed57.webp
    9b6fa20ccb9e7d5d26438b9c7a40ed57.webp
    119.8 กิโลไบต์ · จำนวนการดู: 31
  • 259f34971cef89a39cd088d27778f6b4.webp
    259f34971cef89a39cd088d27778f6b4.webp
    133 กิโลไบต์ · จำนวนการดู: 42

กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see
กลับ
ยอดนิยม ด้านล่าง