กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see


thxf.org

Articles ใช้งาน vi editor เบื้องต้น

สำหรับคนที่พัฒนาระบบงานบน Linux หรือ Unix และเป็นผู้ที่ไม่ชอบย้ายมือออกจากคีย์บอร์ดนั้น ขอแนะนำให้ใ้ช้ Vi Editor แล้วท่านจะไม่ผิดหวัง เนื่องจาก vi นั้นถูกออกแบบมาให้ใช้งาน โดยที่ไม่จำเป็นต้องเอามือออกจากคีย์บอร์ดเลย ไม่เพียงเท่านั้น 10 นิ้วของท่าน จะไม่หลุดออกแป้น a s d f space j k l : เลย แม้แต่ลูกศรขึ้นลง ก็ไม่ได้ใช้ ตัวเลข ก็ไม่ได้ใช้ อยากรู้แล้วใช้ไหมครับ ว่ามันทำงานอย่างไร vi ประกอบด้วย 2 Mode คือ

  1. Mode command ไว้สำหรับใช้คำสั่ง Mode นี้ เพียงกด Esc ก็จะเข้าสู่ Mode command อัตโนมัติ (คิดอะไรไม่ออก กด Esc ลูกเดียว)
  2. Mode การพิมพ์ ไว้สำหรับเพิ่มข้อมูล เลื่อน Cursor ต่าง ๆ แต่เราต้องใช้ Command ก่อน เช่น หากต้องการเพิ่มอักษร ต้องสั่ง I (Insert) เสียก่อน และเมื่อพิมพ์จะเป็นการแทรกข้อความอัตโนมัติ
ผมขอแนะนำเทคนิคที่ใช้กันบ่อย ๆ นะครับ รูปแสดงแผนผังการใช้งาน VI Editor แบบไม่ยกนิ้วกันเลยครับผม การ เลื่อนทิศทาง (Motivation) สังเกตุนะครับ มือจะไม่ขยับไปใช้ ลูกศร ขึ้นลง เลย ทำให้ทำงานได้เร็วขึ้น

  • h = เลื่อนไปทางซ้าย
  • l = เลื่อนไปทางขวา
  • j = เลื่อนลง
  • k = เลื่อนขึ้น
  • หาก พิมพ์ 8l = เลื่อนไปทางขวา 8 ตัวอักษร
  • w , W = เลื่อนไปทางขวา 1 คำ เช่น this is test เมื่อกด w จะเลื่อน Cursor ไป 1 word Cursor จะไปยืนอยู่ที่ this is test เป็นต้น
  • { = เลื่อนไปยังต้น Paragraph
  • } = เลื่อนไปยังท้าย Paragraph
  • :หมายเลขบรรทัด = เลื่อนไปยังบรรทัดที่ต้องการ เช่น :10 หมายถึงไปบรรทัดที่ 10 เป็นต้น
  • $ = ไปตัวอักษรท้ายสุดของบรรทัด
  • 0 = ไปตัวอักษรตัวแรกสุด ของบรรทัด
การกระทำการ (Operator)

  • i = เพิ่มตัวอักษร (insert) ใช้งาน โดยพิมพ์ i แล้วพิมพ์ต่อได้เลย
  • I = เพิ่มตัวอักษรต้นบรรทัด
  • x = ลบตัวษรทีละ 1 ตัว
  • 10x = ลบตัวอักษร 10 ตัว
  • dw = ลบทั้งคำ
  • dd = ลบทั้งบรรทัด
  • yy = yank หมายถึง Copy ทั้งบรรทัด
  • p = วาง (Paste) วางบรรทัดล่างจาก Cursor อยู่
  • P = วาง (Paste) วางแทรกบรรทัดปัจจุบัน
การจัดการเกี่ยวกับไฟล์

  • :w ชื่อไฟล์ = save ไฟล ์ด้วยชื่อที่กำหนด
  • :wq = save ไฟล์ และออกจาก vi (Quit)
  • :q! = ออกจาก vi โดยไม่ Save
  • :set
    • set nu = สั่งให้ vi แสดงหมายเลขบรรทัด
    • set ic = สั่งให้เวลา Search ไม่ดูการค้น ตัวเล็ก ตัวใหญ่ ใด ๆ (Ignore Case)
    • set nu ic สั่งให้ทำงานทั้ง 2 แบบ
ลอง Telnet แล้วไปของพิมพ์เล่น ๆ ดูนะครับ ทางด้านบนนั้น เป็นเพียงแค่ความสามารถเพียงนิดเดียวของ Vi ครับ หวังว่าหลายคนที่มองหา Editor ฟรี ๆ ความสามารถสูง ๆ ที่พร้อมใช้ังานอยู่ใน Server อยู่แล้วครับ ขอบพระคุณที่สนใจอ่าน อ่านเพิ่มเติม wiki : vi - Wikipedia, the free encyclopedia
 



กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see
Back
Top Bottom