AWS เปิดตัว Kiro คู่แข่ง Cursor, IDE แบบ AI ที่คุมการทำงานด้วยเอกสารอย่างละเอียด นับการใช้งานตามมี่แชตจริง ใช้ฟรี 50 แชตต่อเดือน
Body
AWS เปิดตัว Kiro IDE ปัญญาประดิษฐ์แบบเดียวกับ Cursor หรือ Windsurf แต่ชูจุดเด่นที่สร้างเอกสารอย่างละเอียด และสามารถทำตามเงื่อนไขต่างๆ ที่ผู้ใช้กำหนด ทำให้ควบคุมเอกสารต่างๆ ในโครงการ, ระบบทดสอบ, และโค้ดจริง ให้ตรงกันได้ตลอดเวลา
ตัวปัญญาประดิษฐ์เบื้องหลัง Kiro เป็น Claude 4 และ Claude 3.7 จุดขายสำคัญของ Kiro คือนับการใช้งานตามการ "สั่งงาน" (interaction) เช่น แชตคุย, สั่งเขียนโค้ดตามสเปค, หรือสั่งตรวจเงื่อนไข ระหว่างทางแต่ละคำสั่ง หาก Kiro เรียกใช้เครื่องมือโดยอัตโนมัติ หรือแก้ไขข้อผิดพลาดของตัวเอง ก็จะไม่นับโควต้าแต่อย่างใด ทำให้การใช้งานคาดเดาต้นทุนได้ง่าย
รูปแบบการทำงานของ Kiro พยายามทำตามเอกสารมาตรฐาน แทนที่จะปล่อยให้ปัญญาประดิษฐ์ทำตามคำสั่งไปเรื่อยๆ เริ่มจากพรอมพ์ของผู้ใช้ ตัว Kiro จะสร้างเอกสาร requirement ให้ตรวจสอบก่อน จากนั้นก็จะสร้างเอกสารออกแบบออกมา และแตกเป้นงานย่อยๆ เพื่ออิมพลีเมนต์จริง ในกระบวนการอิมพลีเมนต์จะค่อยๆ ทำตาม task ที่วางแผนไว้เป็นขั้นๆ
ฟีเจอร์สำคัญคือ hook ที่เปิดให้ตรวจสอบเงื่อนไขที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เช่น เมื่อแก้ไข API ต้องแก้ไขเอกสารเสมอ, หรือหากแก้ไขหน้าจอต้องแก้ไขไฟล์ทดสอบไปพร้อมกัน
ทาง AWS จัดแข่งกัน Code with Kiro Hackathon ไปพร้อมกัน รางวัลรวม 100,000 ดอลลาร์ โดยเป็นรางวัลที่หนึ่ง 30,000 ดอลลาร์
ที่มา - Kiro
lew Tue, 15/07/2025 - 01:03
Continue reading...
Body
AWS เปิดตัว Kiro IDE ปัญญาประดิษฐ์แบบเดียวกับ Cursor หรือ Windsurf แต่ชูจุดเด่นที่สร้างเอกสารอย่างละเอียด และสามารถทำตามเงื่อนไขต่างๆ ที่ผู้ใช้กำหนด ทำให้ควบคุมเอกสารต่างๆ ในโครงการ, ระบบทดสอบ, และโค้ดจริง ให้ตรงกันได้ตลอดเวลา
ตัวปัญญาประดิษฐ์เบื้องหลัง Kiro เป็น Claude 4 และ Claude 3.7 จุดขายสำคัญของ Kiro คือนับการใช้งานตามการ "สั่งงาน" (interaction) เช่น แชตคุย, สั่งเขียนโค้ดตามสเปค, หรือสั่งตรวจเงื่อนไข ระหว่างทางแต่ละคำสั่ง หาก Kiro เรียกใช้เครื่องมือโดยอัตโนมัติ หรือแก้ไขข้อผิดพลาดของตัวเอง ก็จะไม่นับโควต้าแต่อย่างใด ทำให้การใช้งานคาดเดาต้นทุนได้ง่าย
รูปแบบการทำงานของ Kiro พยายามทำตามเอกสารมาตรฐาน แทนที่จะปล่อยให้ปัญญาประดิษฐ์ทำตามคำสั่งไปเรื่อยๆ เริ่มจากพรอมพ์ของผู้ใช้ ตัว Kiro จะสร้างเอกสาร requirement ให้ตรวจสอบก่อน จากนั้นก็จะสร้างเอกสารออกแบบออกมา และแตกเป้นงานย่อยๆ เพื่ออิมพลีเมนต์จริง ในกระบวนการอิมพลีเมนต์จะค่อยๆ ทำตาม task ที่วางแผนไว้เป็นขั้นๆ
ฟีเจอร์สำคัญคือ hook ที่เปิดให้ตรวจสอบเงื่อนไขที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เช่น เมื่อแก้ไข API ต้องแก้ไขเอกสารเสมอ, หรือหากแก้ไขหน้าจอต้องแก้ไขไฟล์ทดสอบไปพร้อมกัน
ทาง AWS จัดแข่งกัน Code with Kiro Hackathon ไปพร้อมกัน รางวัลรวม 100,000 ดอลลาร์ โดยเป็นรางวัลที่หนึ่ง 30,000 ดอลลาร์
ที่มา - Kiro
lew Tue, 15/07/2025 - 01:03
Continue reading...