กูเกิลเปิดเผยว่า Chrome เริ่มนำเอาโมเดล Gemini Nano มาช่วยตรวจสอบเว็บปลอม-เว็บหลอกลวง (scam) แบบ on-device เพิ่มเติมจากการตรวจสอบ Safe Browsing ที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์อย่างเดียว
ฟีเจอร์นี้ไม่ได้ใช้ Gemini Nano ทำงานแบบ on-device ล้วนๆ แต่เป็นการผสมผสานกันกับฝั่งเซิร์ฟเวอร์ โดย Gemini Nano จะอ่านข้อมูลหน้าเว็บแล้วส่งสัญญาณไปยังเซิร์ฟเวอร์ Safe Browsing เพื่อช่วยประเมินเว็บหลอกหลวงให้แม่นยำมากขึ้น
กูเกิลบอกว่าเว็บหลอกลวงรุ่นใหม่ๆ มักเปิดมาเป็นเวลาสั้นๆ น้อยกว่า 10 นาที แถมยังเรนเดอร์หน้าเพจให้ผู้ใช้แต่ละคนต่างกันเพื่อเลี่ยงการตรวจจับ ดังนั้นการนำโมเดล LLM มาช่วยประเมินความเสี่ยงแบบ on-device ของเว็บแบบเดียวกับที่ผู้ใช้มองเห็น จึงช่วยบล็อคเว็บประสงค์ร้ายเหล่านี้ได้แม่นยำขึ้น
ฟีเจอร์นี้เริ่มใช้กับ Chrome 137 บนเดสก์ท็อป และจะขยายไปยัง Chrome for Android ต่อไปภายในปีนี้
นอกจากนี้ กูเกิลยังมีฟีเจอร์คล้ายๆ กันอีกตัวคือ Chrome for Android ใช้โมเดล machine learning ที่ไม่ระบุชื่อ ช่วยตรวจสอบการแจ้งเตือน (notification) ของเว็บไซต์ที่อาจเป็นสแปมได้ โมเดลนี้ถูกเทรนด้วยข้อมูลสังเคราะห์จาก Gemini และประมวลผลบนสมาร์ทโฟนแบบ on-device ล้วนๆ
เหตุผลที่ต้องใช้โมเดลแบบ on-device ล้วนๆ เป็นเพราะข้อมูลใน notification เข้ารหัสแบบ end-to-end ไม่ได้ส่งผ่านกูเกิล เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้จึงต้องประมวลผลแบบ on-device เท่านั้น ผู้ใช้จะได้รับการแจ้งเตือนว่า notification นี้อาจเป็นสแปม และเลือกได้ว่าจะเลิกรับการแจ้งเตือนจากเว็บไซต์นี้ หรือจะสั่งให้แสดงผลข้อความตามปกติก็ได้
ที่มา - Google Online Security, Google Blog, Chromium Blog
Topics:
Chrome
Gemini
Google Safe Browsing
Browser
Google
Scam
Continue reading...
ฟีเจอร์นี้ไม่ได้ใช้ Gemini Nano ทำงานแบบ on-device ล้วนๆ แต่เป็นการผสมผสานกันกับฝั่งเซิร์ฟเวอร์ โดย Gemini Nano จะอ่านข้อมูลหน้าเว็บแล้วส่งสัญญาณไปยังเซิร์ฟเวอร์ Safe Browsing เพื่อช่วยประเมินเว็บหลอกหลวงให้แม่นยำมากขึ้น
กูเกิลบอกว่าเว็บหลอกลวงรุ่นใหม่ๆ มักเปิดมาเป็นเวลาสั้นๆ น้อยกว่า 10 นาที แถมยังเรนเดอร์หน้าเพจให้ผู้ใช้แต่ละคนต่างกันเพื่อเลี่ยงการตรวจจับ ดังนั้นการนำโมเดล LLM มาช่วยประเมินความเสี่ยงแบบ on-device ของเว็บแบบเดียวกับที่ผู้ใช้มองเห็น จึงช่วยบล็อคเว็บประสงค์ร้ายเหล่านี้ได้แม่นยำขึ้น
ฟีเจอร์นี้เริ่มใช้กับ Chrome 137 บนเดสก์ท็อป และจะขยายไปยัง Chrome for Android ต่อไปภายในปีนี้
นอกจากนี้ กูเกิลยังมีฟีเจอร์คล้ายๆ กันอีกตัวคือ Chrome for Android ใช้โมเดล machine learning ที่ไม่ระบุชื่อ ช่วยตรวจสอบการแจ้งเตือน (notification) ของเว็บไซต์ที่อาจเป็นสแปมได้ โมเดลนี้ถูกเทรนด้วยข้อมูลสังเคราะห์จาก Gemini และประมวลผลบนสมาร์ทโฟนแบบ on-device ล้วนๆ
เหตุผลที่ต้องใช้โมเดลแบบ on-device ล้วนๆ เป็นเพราะข้อมูลใน notification เข้ารหัสแบบ end-to-end ไม่ได้ส่งผ่านกูเกิล เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้จึงต้องประมวลผลแบบ on-device เท่านั้น ผู้ใช้จะได้รับการแจ้งเตือนว่า notification นี้อาจเป็นสแปม และเลือกได้ว่าจะเลิกรับการแจ้งเตือนจากเว็บไซต์นี้ หรือจะสั่งให้แสดงผลข้อความตามปกติก็ได้
ที่มา - Google Online Security, Google Blog, Chromium Blog
Topics:
Chrome
Gemini
Google Safe Browsing
Browser
Scam
Continue reading...