Satya บอกการปลดพนักงานเป็นสิ่งที่ยากแต่จำเป็น ไมโครซอฟท์ต้องปรับตัวสู่อนาคต
Body
Satya Nadella เขียนบันทึกถึงพนักงานไมโครซอฟท์ (และเผยแพร่ต่อสาธารณะ) เล่าถึงความลำบากใจของเขาในการปลดพนักงาน ซึ่งปีนี้ปลดไปแล้วสองรอบ รวมกันประมาณ 1.5 หมื่นคน
Satya บอกว่าการตัดสินใจปลดพนักงานถือเป็นงานที่ยากที่สุดอย่างหนึ่งของเขา และเป็นความหนักหน่วงที่เขาต้องแบกรับเสมอ เพราะพนักงานที่ถูกปลดออกคือเพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมทีม และเพื่อนในชีวิตจริง เขาต้องขอแสดงความคุณต่อความทุ่มเทของพนักงานกลุ่มนี้
ในอีกด้าน Satya บอกว่าธุรกิจของไมโครซอฟท์ดีเยี่ยมในทุกๆ ด้าน ผลประกอบการออกมาดี ความสามารถในการแข่งขันดี ผลตอบแทนของพนักงานก็สูง จึงเกิดคำถามว่าทำไมบริษัทจำต้องปลดพนักงานออกด้วย
คำตอบที่ Satya อธิบายคือ "ความสำเร็จ" ไม่ได้เป็นเส้นตรง มีความเป็นพลวัตรสูง บริษัทต้องปรับตัวตลอดเวลา ทั้งตามความต้องการของลูกค้า และตามสภาพตลาดที่เปลี่ยนไป ซึ่งเป็นเรื่องยาก มีเพียงไม่กี่บริษัทที่ทำได้ และเขามั่นใจว่าไมโครซอฟท์จะต้องเป็นหนึ่งในบริษัทเหล่านั้น
Satya บอกว่าไมโครซอฟท์ต้องทบทวนจุดยืนของตัวเองใน 3 เรื่องคือ why, what, how
Satya สรุปจบว่า ไมโครซอฟท์อยู่มาได้นาน 50 ปี ความสำเร็จไม่ได้มาจากอยู่มานาน แต่มาจากไมโครซอฟท์ปรับตัวให้เข้ากับโลกอยู่เสมอ อนาคตไม่ได้ถูกนิยามมาจากสิ่งที่พวกเราเคยสร้างมาในอดีต แต่มาจากสิ่งที่เราจะช่วยให้คนอื่นๆ สร้างเครื่องมือของเขาเองได้นับจากนี้ไป
ที่มา - Microsoft
mk Sat, 26/07/2025 - 08:45
Continue reading...
Body
Satya Nadella เขียนบันทึกถึงพนักงานไมโครซอฟท์ (และเผยแพร่ต่อสาธารณะ) เล่าถึงความลำบากใจของเขาในการปลดพนักงาน ซึ่งปีนี้ปลดไปแล้วสองรอบ รวมกันประมาณ 1.5 หมื่นคน
Satya บอกว่าการตัดสินใจปลดพนักงานถือเป็นงานที่ยากที่สุดอย่างหนึ่งของเขา และเป็นความหนักหน่วงที่เขาต้องแบกรับเสมอ เพราะพนักงานที่ถูกปลดออกคือเพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมทีม และเพื่อนในชีวิตจริง เขาต้องขอแสดงความคุณต่อความทุ่มเทของพนักงานกลุ่มนี้
ในอีกด้าน Satya บอกว่าธุรกิจของไมโครซอฟท์ดีเยี่ยมในทุกๆ ด้าน ผลประกอบการออกมาดี ความสามารถในการแข่งขันดี ผลตอบแทนของพนักงานก็สูง จึงเกิดคำถามว่าทำไมบริษัทจำต้องปลดพนักงานออกด้วย
คำตอบที่ Satya อธิบายคือ "ความสำเร็จ" ไม่ได้เป็นเส้นตรง มีความเป็นพลวัตรสูง บริษัทต้องปรับตัวตลอดเวลา ทั้งตามความต้องการของลูกค้า และตามสภาพตลาดที่เปลี่ยนไป ซึ่งเป็นเรื่องยาก มีเพียงไม่กี่บริษัทที่ทำได้ และเขามั่นใจว่าไมโครซอฟท์จะต้องเป็นหนึ่งในบริษัทเหล่านั้น
Satya บอกว่าไมโครซอฟท์ต้องทบทวนจุดยืนของตัวเองใน 3 เรื่องคือ why, what, how
- Our why: mission ภารกิจของไมโครซอฟท์ในยุคก่อตั้งคือ a software factory สร้างซอฟต์แวร์ในด้านใดก็ได้ แต่ภารกิจนั้นไม่พอแล้วสำหรับยุคปัจจุบัน ซึ่งตอนนี้ขยายมาเป็น an intelligence engine empowering every person and organization to build whatever they need to achieve หรือการช่วยให้ทุกคนสร้างเครื่องมือของตัวเองได้
- Our what: priorities สิ่งที่ไมโครซอฟท์จะโฟกัสในเชิงธุรกิจมี 3 เรื่องคือ security, quality, AI โดยสองเรื่องแรกเป็นสิ่งที่ยังไงก็ต้องทำ (non-negotiable) เพราะเป็นรากฐานของโลกดิจิทัล ส่วนเรื่อง AI จะทุ่มทรัพยากรให้เยอะกว่าเดิมอีก นำ AI ไปแทรกในทุกเลเยอร์ของซอฟต์แวร์ จุดเด่นของไมโครซอฟท์คือการมีหลายเลเยอร์ และผสมผสานเพื่อสร้างประสบการณ์แบบ end-to-end ที่คู่แข่งไม่มี
- Our how: culture วัฒนธรรม growth mindset ของไมโครซอฟท์ทำงานได้ดีในทศวรรษที่ผ่านมา และจะรักษามันต่อไป แต่โลกไอทีกำลังเปลี่ยนแปลงใหญ่อีกครั้งจาก AI ซึ่ง Satya บอกว่าบรรยากาศคล้ายยุคต้น 90s ที่พีซีและซอฟต์แวร์สำนักงานกำลังกลายเป็นมาตรฐาน ดังนั้นทุกคนในไมโครซอฟท์ต้องปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงนี้
Satya สรุปจบว่า ไมโครซอฟท์อยู่มาได้นาน 50 ปี ความสำเร็จไม่ได้มาจากอยู่มานาน แต่มาจากไมโครซอฟท์ปรับตัวให้เข้ากับโลกอยู่เสมอ อนาคตไม่ได้ถูกนิยามมาจากสิ่งที่พวกเราเคยสร้างมาในอดีต แต่มาจากสิ่งที่เราจะช่วยให้คนอื่นๆ สร้างเครื่องมือของเขาเองได้นับจากนี้ไป
ที่มา - Microsoft
mk Sat, 26/07/2025 - 08:45
Continue reading...